Background



สังคมและโครงสร้างพื้นฐาน
สภาพทางสังคม
21 พฤศจิกายน 2566

0


การศึกษา
        ภายในพื้นที่เทศบาลตำบลมะรือโบตก มีสถานศึกษาต่างๆ ดังนี้

 

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
                1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในพื้นที่เขต 1 ตั้งอยู่ในชุมชนบูเกะปือเราะ เทศบาลตำบลมะรือโบตก
                2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในพื้นที่เขต 2 ตั้งอยู่ในชุมชนพงมาเนาะ เทศบาลตำบลมะรือโบตก

 

 

โรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ  จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
                1. โรงเรียนบ้านมะรือโบตก
                2. โรงเรียนเขาแก้ว
                3. โรงเรียนบ้านบาโงระนะ
                4. โรงเรียนไอยรานุสรณ์

 

โรงเรียนเอกชน  จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
                1. โรงเรียนอนุบาลวิทยปัญญา
                2. โรงเรียนประทีปวิทยา

 

ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (โรงเรียนตาดีกา) จำนวน 10 แห่ง ได้แก่
                1. ศูนย์การศึกษาอิสลามดารุลตะอาลีม
                2. ศูนย์การศึกษาอิสลามอัลฮีดายะห์
                3. ศูนย์การศึกษาอิสลามอัลอูลูมมุดีนียะห์
                4. ศูนย์การศึกษาอิสลามดารุลอามาน
                5. ศูนย์การศึกษาอิสลามอัลฮิดายาตุลอิสลามียะห์
                6. ศูนย์การศึกษาอิสลามอิสลามียะห์
                7. ศูนย์การศึกษาอิสลามอัซซากอพะห์ อัดดีนียะห์
                8. ศูนย์การศึกษาอิสลามอิสลามียะห์(พงดารา)
                9. ศูนย์การศึกษาอิสลามมูฮัมมาดียะห์ อัลอิสลามียะห์
                10. ศูนย์การศึกษาอิสลามตัซมียาตูลอัตฟาล  

 

ศูนย์เรียนรู้คัมภีร์อัลกรุอานประจำชุมชน (ศูนย์กีรออาตี) จำนวน 15 ศูนย์ ได้แก่
                1. ศูนย์กีรออาตีชุมชนตลาดมะรือโบตก
                2. ศูนย์กีรออาตีชุมชนฮาปา
                3. ศูนย์กีรออาตีชุมชนบูเก๊ะปือเราะ 1
                4. ศูนย์กีรออาตีชุมชนบูเก๊ะปือเราะ 2
                5. ศูนย์กีรออาตีชุมชนบลูกา
                6. ศูนย์กีรออาตีชุมชนสุเหร่า
                7. ศูนย์กีรออาตีชุมชนบูเก๊ะมูนิง
                8. ศูนย์กีรออาตีชุมชนบาโงระนะ 1
                9. ศูนย์กีรออาตีชุมชนบาโงระนะ 2        
                10. ศูนย์กีรออาตีชุมชนอาแว
                11. ศูนย์กีรออาตีชุมชนกูแบบาเดาะ
                12. ศูนย์กีรออาตีชุมชนกำปงปาเระ
                13. ศูนย์กีรออาตีชุมชนศิลา
                14. ศูนย์กีรออาตีชุมชนพงมาเนาะ 1
                15. ศูนย์กีรออาตีชุมชนพงมาเนาะ 2

 

การสาธารณสุข

          ในพื้นตำบลมะรือโบตกมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบตก จำนวน 2 แห่ง แพทย์ พยาบาล ทันตภิบาล แพทย์แผนไทย นักกายภาพบำบัด และบุคลากรสาธารณสุข ให้บริการด้านส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูและการป้องกันโรคให้กับคนในพื้นที่ ได้แก่
                1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบตก
                2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสะโล
 
การสังคมสงเคราะห์   
          เทศบาลตำบลมะรือโบตก  ได้จัดสรรงบประมาณในการจ่ายเป็นเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน  801 ราย อัตรารายละ  600, 700, 800 และ 1,000  บาท/เดือน  และเทศบาลตำบลมะรือโบตก ได้จัดสรรงบประมาณในการจ่ายเป็นเงินเบี้ยยังชีพคนพิการ จำนวน 275 ราย อัตรารายละ 800 บาท/เดือน  และได้จัดสรรงบประมาณในการจ่ายเป็นเงินเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์  จำนวน 11 ราย  อัตรารายละ  500  บาท/เดือน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564)

 

          เทศบาลตำบลมะรือโบตกได้มีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลมะรือโบตก และชมรมผู้พิการเทศบาลตำบลมะรือโบตก เมื่อปี พ.ศ. 2555  เป็นองค์กรที่สำคัญในการพัฒนาบทบาทระบบงานผู้สูงอายุและผู้พิการ ที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับชมรมผู้สูงอายุ และระดับชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของผู้อายุและผู้พิการทั้งในด้านสุขภาพ สังคม และสวัสดิการ ปัจจุบันมีสมาชิกชมรมผู้สูงอายุจำนวน 605 คน โดยมีนายตอเละ มะเซ็ง เป็นประธานคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ และกรรมการบริหารชมรมอีก 23 คน และคณะผู้บริหารเทศบาลตำบลมะรือโบตก ปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการสาธารณสุข ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม หัวหน้าฝ่ายสังคมสงเคราะห์ และนักพัฒนาชุมชน เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาชมรม และปัจจุบันมีสมาชิกชมรมผู้พิการ จำนวน 224 คน โดยมีนายสาเล็ง อาหามะ เป็นประธานคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ และกรรมการบริหารชมรมอีก 23 คน และคณะผู้บริหารเทศบาลตำบลมะรือโบตก ผู้อำนวยการสาธารณสุข ประธานชุมชนทุกชุมชน ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม หัวหน้าฝ่ายสังคมสงเคราะห์ และนักพัฒนาชุมชน เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาชมรม

ระบบบริการพื้นฐาน
21 พฤศจิกายน 2566

0


การคมนาคมขนส่งทางบก
          การคมนาคมทางบก เส้นทางคมนาคมทางรถยนต์สายหลักของชุมชน ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4058 สายรือเสาะ - ยี่งอ เป็นระยะทาง 33 กิโลเมตร และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4107 กิโลเมตร สายบาโงระนะ - ระแงะ เป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีทางหลวงท้องถิ่นสายย่อยอีก ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆ ของชุมชน และเป็นเส้นทางสัญจรของประชาชนในพื้นที่


          การคมนาคมทางราง เส้นทางรถไฟที่ผ่าน คือสายใต้ ซึ่งมีสถานีรับส่งผู้โดยสารอยู่ 1 แห่ง คือ สถานีรถไฟมะรือโบ มีขบวนรถให้บริการทุกวันๆ ละ 12 เที่ยวไปกลับ

 

 

การไฟฟ้า
          เทศบาลตำบลมะรือโบตก ได้รับบริการไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอระแงะ   ซึ่งรับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  โดยมีสถานีไฟฟ้าย่อยอยู่ริมถนนสายตันหยงมัส – นราธิวาส การให้บริการสาธารณะด้านไฟฟ้าได้ขยายเขตการไฟฟ้าสาธารณะออกสู่ชุมชนในเขตพื้นที่แล้ว แต่เนื่องจากมีการขยายตัวของชุมชนทำให้ต้องมีการขยายเขตไฟฟ้า
 
การประปา
          เทศบาลตำบลมะรือโบตกไม่มีกิจการประปา แต่ละชุมชนได้บริหารจัดการเอง และทุกชุมชนสามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน ประชาชนมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ 
 
โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต
          เทศบาลตำบลมะรือโบตกปัจจุบันในพื้นที่ไม่มีโทรศัพท์สาธารณะ เนื่องจากประชาชนได้นิยมใช้โทรศัพท์ส่วนบุคคลแทน ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารได้รวดเร็ว และสามารถใช้ระบบอินเตอร์เน็ตได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ สำหรับสถานที่ราชการ ยังคงใช้ระบบโทรศัพท์พื้นฐานในการติดต่อสื่อสาร ใช้อยู่

 

          เทศบาลตำบลมีบริการให้ใช้อินเตอร์เน็ตฟรี  ที่สำนักงานเทศบาลตำบลมะรือโบตก และชุมชนจะมีโครงการอินเตอร์เน็ตประชารัฐของรัฐบาล ซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งที่ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน
 
การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์
          มีที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ ไปรษณีย์ตันหยงมัส ตั้งอยู่ ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ห่างจากตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ประมาณ 12 กิโลเมตร นอกจากนี้ มีบริการขนส่งของเอกชนที่ให้บริการในพื้นที่อีกหลายบริษัท

 

ระบบเศรษฐกิจ
21 พฤศจิกายน 2566

0


          จากการสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานปี

2564 พบว่า ครัวเรือนในพื้นที่เทศบาลตำบลมะรือโบตกมีการประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 42.33 เกษตรกร ร้อยละ 26.49 ไม่มีอาชีพ ร้อยละ 11.77 และค้าขาย 10.46 เศรษฐกิจโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับผลผลิตทางการเกษตรเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการทำสวนยางพาราและทำสวนผลไม้ ได้แก่ ลองกอง มังคุด เงาะ ทุเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ประชากรบางส่วนนิยมไปหางานทำในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น แรงงานในส่วนนี้เป็นแรงงานหนุ่มสาว และส่วนใหญ่ไปประกอบอาชีพรับจ้างประเภทต่างๆ ครัวเรือนในพื้นที่เทศบาลตำบลมะรือโบตกมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ที่ 55,257 บาท และมีรายจ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ที่ 51,721 บาท

 

 

การเกษตรกรรม
          การประกอบอาชีพในเขตเทศบาลตำบลมะรือโบตกส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพกรีดยางพารา การประกอบอาชีพของชุมชนขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ  เทคโนโลยีที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตยังคงมีน้อย และการทำสวนผลไม้เป็นเพียงอาชีพเสริมรายได้เท่านั้น ยังไม่ได้ดำเนินการเป็นกิจการขนาดใหญ่ ในเขตเทศบาลมีพื้นที่ทำการเกษตรโดยประมาณ 4,482 ไร่  มีจำนวนครัวเรือนอยู่ในภาคเกษตรกรรม ประมาณ 800 ครัวเรือน

    

 

การปศุสัตว์
          สภาพการเลี้ยงสัตว์ โดยทั่วไปมีการเลี้ยงสัตว์แบบธรรมชาติ เลี้ยงแบบปล่อยลาน พันธุ์สัตว์ที่เลี้ยงเป็นพันธุ์พื้นเมือง และไม่ได้ยึดเป็นอาชีพหลัก ส่วนใหญ่เลี้ยงเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน ส่วนที่เหลือก็จะขายเป็นรายได้เสริมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผลผลิตทางปสุสัตว์ที่สำคัญ ได้แก่ โค ไก่ แพะ เป็นต้น
 
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
          ด้านการพาณิชยกรรมในเขตเทศบาล  ส่วนใหญ่อยู่ในรูปการค้าย่อยและค้าปลีก  โดยมีผู้ประกอบธุรกิจจดทะเบียนพาณิชย์ จำนวน 131 ราย  ข้อมูลด้านการพาณิชย์และการบริการในเขตเทศบาลตำบลมะรือโบตก มีดังนี้
                 1. สถานที่สะสมอาหารและจำหน่ายอาหาร  จำนวน  25  แห่ง
                 2. สถานที่ประกอบการที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จำนวน  37    แห่ง
                 3. สถานที่รับจ้างแต่งผม  จำนวน  9   แห่ง
                 4. ตลาดนัดเอกชน  จำนวน  2  แห่ง 
                 5. ร้านค้า  จำนวน  58  แห่ง
                 6. บ้านเช่า  จำนวน  9   แห่ง
                 7. พื้นที่ให้เช่าตั้งเสาโทรศัพท์เคลื่อนที่  จำนวน  2  แห่ง
                 9. กลุ่มอาชีพ  จำนวน  35  กลุ่ม
 
แรงงาน
          จากการสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานปี 2564 พบว่า ประชากรที่มีอายุ  15-59  ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ร้อยละ  99.13 โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง  25-50 ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ  เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้

ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
21 พฤศจิกายน 2566

0


การนับถือศาสนา
          จากการสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานปี 2564 เทศบาลตำบลมะรือโบตกมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 99.82 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 0.15 และนับถือศาสนาซิกส์ ร้อยละ 0.04 โดยมีศาสนสถานจำนวน 13 แห่ง ดังนี้
                1. มัสยิดบูเก๊ะปือเราะห์  ชุมชนบลูกา
                2. มัสยิดนูรูลฮูดา  ชุมชนบูเก๊ะปือเราะห์
                3. มัสยิดบูเกะมูนิง  ชุมชนบูเกะมูนิง
                4. มัสยิดดารุลนาอีน ชุมชนศิลา
                5. มัสยิดอิสลามียะห์  ชุมชนบาโงระนะ
                6. มัสยิดอัซซากอพะห์อัดดีนียะห์  ชุมชนกูแบบาเดาะ
                7. มัสยิดกำปงปาเระ  ชุมชนกำปงปาเระ
                8. มัสยิดอัลฮีดายะห์  ชุมชนฮาปา
                9. มัสยิดอัตตักวา ชุมชนบาโงระนะ
                10. มัสยิดดารุลเราะห์มาน  ชุมชนตลาดมะรือโบ
                11. มัสยิดดารุลมุตตาดีม  ชุมชนสุเหร่า
                12. มัสยิดดารุลอิสลาห์  ชุมชนอาแว
                13. มัสยิดอัลมิสบะฮ (รร.ประทีปวิทยา) ชุมชนพงมาเนาะ
 
ประเพณีและงานประจำปี
          1. มาแกปูโละ “มาแกปูโละ” เป็นภาษาท้องถิ่น แปลว่า “กินเหนียว” ประเพณีการกินเหนียวของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม จะใช้ในหลายโอกาส เช่นแต่งงาน และเข้าสุหนัต คำว่า “กินเหนียว” มิใช่ว่าเจ้าของจะบริการอาหารเฉพาะข้าวเหนียวเท่านั้น แต่เป็นการเลี้ยงอาหารธรรมดาทั่วไปนั่นเอง
       

          2. การเข้าสุนัต เป็นหลักการของศาสนาอิสลาม อันเกี่ยวเนื่องกับเรื่องความสะอาด คือ การขลิบผิวหนังหุ้มส่วนปลายอวัยวะเพศชาย หรือเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “มาโซะยาวี” จะกระทำแก่เด็กชายที่มีอายุระหว่าง 2-10 ปีส่วนการจัดเลี้ยงอาหารในวันเข้าสุนัต ถือว่าเป็นประเพณีอย่างหนึ่ง

 

          3. วันฮารีรายอ มีอยู่ 2 วันคือ
                (1) วันอีฎิ้ลฟิตรี หรือที่เรียกว่า วันฮารีรายอ เป็นวันรื่นเริงเนื่องจากการสิ้นสุดการถือ ศีลอดในเดือนรอมฎอน เป็นการกลับเข้าสู่สภาพเดิมคือ สภาพที่ไม่ต้องอดอาหาร ไม่ต้องอดน้ำ ฯลฯ อีกต่อไป วันอีฎิ้ลฟิตรี ตรงกับวันที่หนึ่งของเดือนเซาวาล ซึ่งเป็นเดือนที่ 10 ทางจันทรคติ และทางราชการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยกเว้นสงขลา) 1 วัน
                (2) วันอีฎิลอัฎฮา หรือที่เรียกว่า วันฮารีรายอหัจญี หมายถึง วันรื่นเริงเนื่องในวันเชือดสัตว์พลีเป็นทานบริจาคอาหารแก่คนยากจนและประชาชนทั่วไปตรงกับวันที่ 10 ของเดือนซุลอิจญะ เป็นเวลาเดียวกับการประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะของมุสลิมทั่วโลก ดังนั้นชาวไทยมุสลิมจึงนิยมเรียกวันตรุษนี้ว่า วันอีดใหญ่หรือวันรายอหัจญี และทางราชการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยกเว้นสงขลา) 1 วัน


          4. วันเมาลิด เมาลิด เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า เกิด ที่เกิด หรือวันเกิด หมายถึง วันสมภพ ของนบีมูฮัมหมัด ตรงกับวันที่ 12 ของเดือนรอบีอุลอาวาล หรือเดือนที่ 3 ตามปฏิทินอาหรับ วันเมาลิด นอกจากจะเป็นวันเฉลิมฉลองเนื่องในวันสมภพของนบีมูฮัมหมัดแล้ว ยังเป็นการรำลึกถึงวันที่ท่านลี้ภัย จากนครเมกกะไปสู่นครมาดีนะห์ และเป็นวันมรณกรรมของท่านอีกด้วยกิจกรรมต่างๆในวันเมาลิด ได้แก่ การอัญเชิญคัมภีร์อัล-กุรอ่าน การแสดงปาฐกถาธรรม การแสดงนิทรรศการ การเลี้ยงอาหาร ฯลฯ

 

          5. วันอาซูรอ “อาซูรอ” เป็นภาษาอาหรับ หมายถึง วันที่ 10 ของเดือนมุฮัรรอน เป็นเดือน ทางศักราชอิสลามในสมัยท่านนบีนุฮ ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ยังความเสียหายแก่ทรัพย์สินไร่นาของประชาชนทั่วไป ทำให้เกิดการขาดอาหารบริโภค จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของที่เหลือพอจะรับประทานได้ ให้เอามากองรวมกัน เนื่องจากต่างคนต่างมีของคนละอย่างไม่เหมือนกัน ท่าน นบีนุฮ ให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน สาวกของท่านก็ได้รับประทานอาหารโดยทั่วกันและเหมือนกัน ในสมัยท่านนบีมูฮัมหมัด (ศ็อล) ได้เกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันขณะที่กองทหารของท่านกลับจากการรบที่บะดัรปรากฏว่าทหารมีอาหารไม่พอกิน ท่านนบีมูฮัมหมัด (ศ็อล) จึงใช้วิธีการของท่าน นบีนุฮ โดยให้ทุกคนเอาข้าวของที่รับประทานได้มากวนเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งกันรับประทานในหมู่ทหาร

 

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

          วิถีชีวิตของคนในชุมชนที่เป็นสังคมแบบชุมชนชนบท มีการช่วยเหลือเกื้อกูล มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และมีความเป็นเครือญาติ มีพฤติกรรมการดื่มน้ำชา(แตออ) ที่ร้านน้ำชาที่มีในชุมชน การร่วมกิจกรรมสำคัญทางศาสนาของชุมชน เช่น ประเพณีการขึ้นปีใหม่(ฮิจเราะห์ศักราชอิสลาม) จะมีการร่วมใจกันในการลงขันวัตถุดิบอาหารเพื่อทำขนมอาซูรอ ประเพณีวันเมาลิด ประเพณีวันฮารีรายอ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลมะรือโบตก มี 2 ภาษา ได้แก่ ภาษามลายูท้องถิ่น ที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสาร และภาษาไทยกลาง

ทรัพยากรธรรมชาติ
21 พฤศจิกายน 2566

0


ทรัพยากรน้ำ
          เทศบาลตำบลมะรือโบตกมีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ อุปโภค - บริโภค  จำนวน  5  แห่ง   แหล่งน้ำทั้ง 5 แห่งเคยเป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเทศบาลตำบลมะรือโบตกได้ดำเนินการขุดลอกแหล่งน้ำและก่อสร้างฝายกั้นน้ำเพื่อเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชน  ดังนี้
               1. เขื่อน/ฝายกั้นน้ำ 5 แห่ง
               2. อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง
               3. สระน้ำ 2 แห่ง
               4. ลำคลอง 6 แห่ง
               5. ห้วย 3 แห่ง
               6. บึง 3 แห่ง
 
ทรัพยากรป่าไม้
          สภาพป่าในเขตเทศบาลมะรือโบตก โดยทั่วๆ ไปค่อนข้างสมบูรณ์และบางส่วนเสื่อมโทรม เนื่องจากการบุกรุกเพื่อทำการเกษตร ลักษณะเป็นป่าดงดิบชื้น มีไม้ใหญ่ขึ้นปกคลุมโดยทั่วไป สภาพป่าตอนบนตลอดแนวเทือกเขา อยู่ในสภาพที่ดีเขียวชอุ่มตลอดปี ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ หลุมพอ ยาง ตะเคียนทอง และตะเคียนชนิดต่างๆ เป็นต้น
 
ภูเขา
          ภูเขาและเทือกเขา มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซนต์ มีความสูงมากน้อยแตกต่างกันไป ดินเป็นดินตื้นและตื้นมากจนถึงชั้นหิน ซึ่งประกอบด้วยหินแกรนิต ส่วนใหญ่ยังเป็นป่าตามธรรมชาติและปกคลุมไปด้วยป่าไม้หนาทึบ
 
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
          พื้นที่เทศบาลตำบลมะรือโบตก ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก เป็นที่นา ไร่ สวน  ที่อยู่อาศัย ร้านค้า สถานประกอบการ ตามลำดับ และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ก็ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศที่ไม่มีมลพิษ น้ำจากใต้ดิน น้ำภูเขา และน้ำฝน มาใช้ในการอุปโภค - บริโภคได้ น้ำในการเกษตรก็ต้องรอฤดูฝน มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรเพียงพอ ฯลฯ