0
เทศบาลตำบลมะรือโบตก ประกอบโครงสร้าง 2 ส่วน ดังนี้
1. คณะผู้บริหาร ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี จำนวน 1 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน รองนายกเทศมนตรี จำนวน 2 คน เลขานุการนายกเทศมนตรี 1 คน และที่ปรึกษานายกเทศมนตรี 1 คน ซึ่งรองนายกเทศมนตรีและที่ปรึกษานายกเทศมนตรีมาจากการแต่งตั้งของนายกเทศมนตรี
นายกเทศมนตรี มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2543 ได้กำหนดไว้ คือ
(1) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาล ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และเทศบัญญัติ
(2) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล
(3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี และที่ปรึกษานายกเทศมนตรี
(4) วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(5) รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ
(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
คณะผู้บริหารเทศบาลตำบลมะรือโบตก ประกอบด้วย
1. นายอับดุลรอฮิม เจะโซะ นายกเทศมนตรีตำบลมะรือโบตก
2. นายมาหะมะนาวาวี หะยีอูเซ็ง รองนายกเทศมนตรี ฯ
3. นางสาวตูแวมาซีเตาะ มือรีงิง รองนายกเทศมนตรี ฯ
4. นายอับดุลเลาะห์ ดอเลาะตาเฮ เลขานุการนายกเทศมนตรี ฯ
5. นายวรรณวิมาน แวดือราแม ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ฯ
2. สภาเทศบาล ประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาล มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จำนวน 12 คน มีหน้าที่
(1) หน้าที่ในการออกเทศบัญญัติ คือ หน้าที่ในการพิจารณา กลั่นกรอง และอนุมัติเทศบัญญัติต่างๆ ว่าควรบังคับใช้ในเขตเทศบาลหรือไม่ อย่างไร หน้าที่ในประการนี้ถูกกำหนดไว้ในมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543 ที่กำหนดว่า “เทศบาลมีอำนาจตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อบทกฎหมาย…”
(2) หน้าที่ในการสะท้อนความต้องการของประชาชนในเขตเทศบาล เป็นหน้าที่โดยทั่วไปของผู้แทนประชาชน เช่น รับฟังปัญหา ความต้องการ ความเดือดร้อน ตลอดจนข้อเรียกร้องหรือร้องเรียนต่างๆ ของประชาชนในเทศบาล แล้วนำข้อเรียกร้องหรือร้องเรียนเหล่านั้น เสนอต่อฝ่ายบริหาร หากบางเรื่องอยู่เกินขอบเขตอำนาจที่เทศบาลจะดำเนินการได้ สมาชิกสภาเทศบาลก็จะทำหน้าที่ในการประสานไปยังหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป
การดำเนินการเพื่อให้ฝ่ายบริหารกระทำตามข้อเรียกร้องของตนนั้น อาจกระทำได้ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ เช่น การทำหนังสือยื่นแสดงปัญหาของประชาชนในเทศบาลผ่านไปยังนายกเทศมนตรี หรือกระทำในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ เช่น การเป็นผู้นำเพื่อหารือและเสนอข้อร้องเรียนต่อผู้บริหารโดยตรงโดยมีประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมในวาระโอกาสต่างๆ เช่น ในระหว่างการพบปะระหว่างผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และประชาชนเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำในทุกๆ ปี เป็นต้น
(3) หน้าที่ในการตรวจสอบและถ่วงดุลฝ่ายบริหาร ซึ่งสภาเทศบาลมีวิธีการในการตรวจสอบและถ่วงดุลอย่างน้อย 3 วิธีได้แก่
(3.1) การตั้งกระทู้ถามฝ่ายบริหาร เพื่อให้ฝ่ายบริหารตอบกระทู้ที่ตนเห็นว่าเป็นปัญหาและให้ฝ่ายบริหารชี้แจงข้อเท็จจริงหรือแนวทางเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2546
(3.2) การตรวจสอบการทำงานโดยคณะกรรมการสามัญและวิสามัญของสภาเทศบาล คณะกรรมการสามัญและวิสามัญของสภาเทศบาล มีหน้าที่หลักในการกระทำกิจการใดๆ ตามที่สภามอบหมายให้ดำเนินการ เช่น สืบสวน สอบสวนข้อเท็จจริง ศึกษาถึงความเป็นไปได้ หรือลงไปเก็บข้อมูลในพื้นที่เทศบาล เป็นต้น และเมื่อได้ดำเนินการไปเช่นไร กรรมการดังกล่าวต้องรายงานผลการดำเนินงานนั้นให้สภาเทศบาลรับทราบด้วย
(3.3) การเสนอเพื่อให้มีการออกเสียงประชามติในเขตเทศบาล ซึ่งกฎหมายได้เปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิเข้ามาช่วยฝ่ายบริหารตัดสินใจในประเด็นที่สำคัญต่อเทศบาลได้ง่ายขึ้น ซึ่งการให้ความเห็นของประชาชนนี้จะสามารถกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับการเสนอจากสมาชิกสภาเทศบาลเสียก่อน
สมาชิกสภาเทศบาลตำบลมะรือโบตกประกอบด้วย
1. นายใสดี หะยีบือราเฮง ประธานสภาเทศบาล
2. นางสาวมารียะห์ อุซา รองประธานสภาเทศบาล
3. นายอับดุลรอฮิม เจ๊ะโกะ สมาชิกสภาเทศบาล
4. นายมามุ หะยีดอเลาะ สมาชิกสภาเทศบาล
5. นายสูกีพลี ดือราแม สมาชิกสภาเทศบาล
6. นางสาวปัทมา ยือราเฮง สมาชิกสภาเทศบาล
7. นายอับดุลการิม นิบอซู สมาชิกสภาเทศบาล
8. นายอับดุลรอพา อีอาซา สมาชิกสภาเทศบาล
9. นายอาหะมะสักรี หะยีอับดุลเลาะ สมาชิกสภาเทศบาล
10. นายอับดุลฮากิม บราเฮง สมาชิกสภาเทศบาล
11. นางสาวตูแวนูนีลา มือรีงิง สมาชิกสภาเทศบาล
12. นางสาวฟาตีฮะ มะสาแม สมาชิกสภาเทศบาล